วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการความรู้

การจัดการความรู้


(Knowledge Management - KM)
การจัดการความรู้ (อังกฤษ: Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิดความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด

การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์

รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น

นิยาม

ปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy – KBE) งานต่างๆ จำเป็นต้องใช้ความรู้มาสร้างผลผลิตให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น การจัดการความรู้เป็นคำกว้างๆ ที่มีความหมายครอบคลุมเทคนิค กลไกต่างๆ มากมาย เพื่อสนับสนุนให้การทำงานของแรงงานความรู้ (Knowledge Worker) มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กลไกดังกล่าวได้แก่ การรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ที่ต่างๆ มารวมไว้ที่เดียวกัน การสร้างบรรยากาศให้คนคิดค้น เรียนรู้ สร้างความรู้ใหม่ๆ ขึ้น การจัดระเบียบความรู้ในเอกสาร และทำสมุดหน้าเหลืองรวบรวมรายชื่อผู้มีความรู้ในด้านต่างๆ และที่สำคัญที่สุด คือการสร้างช่องทาง และเงื่อนไขให้คนเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน เพื่อนำไปใช้พัฒนางานของตนให้สัมฤทธิ์ผล


ประเภทของความรู้

ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา คู่มือปฏิบัติงาน

ความรู้ซ่อนเร้น/ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา

โดยที่ความรู้ทั้ง ๒ ประเภทนี้มีวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน

การจัดการ “ความรู้เด่นชัด” จะเน้นไปที่การเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบ และตีความได้ เมื่อนำไปใช้แล้วเกิดความรู้ใหม่ ก็นำมาสรุปไว้ เพื่อใช้อ้างอิง หรือให้ผู้อื่นเข้าถึงได้ต่อไป (ดูวงจรทางซ้ายในรูป) ส่วนการจัดการ “ความรู้ซ่อนเร้น” นั้นจะเน้นไปที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่อยู่ในตัวผู้ปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ ที่แต่ละคนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ต่อไป (ดูวงจรทางขวาในรูป)







ในชีวิตจริง ความรู้สองประเภทนี้จะเปลี่ยนสถานภาพ สลับปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา บางครั้ง Tacit ก็ออกมาเป็น Explicit และบางครั้ง Explicit ก็เปลี่ยนไปเป็น Tacit

ระดับของความรู้

หากจำแนกระดับของความรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ

ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What) เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง รู้อะไร เป็นอะไร จะพบในผู้ที่สำเร็จการศึกษามาใหม่ๆ ที่มีความรู้โดยเฉพาะความรู้ที่จำมาได้จากความรู้ชัดแจ้งซึ่งได้จากการได้เรียนมาก แต่เวลาทำงาน ก็จะไม่มั่นใจ มักจะปรึกษารุ่นพี่ก่อน

ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท (Know-How) เป็นความรู้เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริง ภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อนสามารถนำเอาความรู้ชัดแจ้งที่ได้มาประยุกต์ใช้ตามบริบทของตนเองได้ มักพบในคนที่ทำงานไปหลายๆปี จนเกิดความรู้ฝังลึกที่เป็นทักษะหรือประสบการณ์มากขึ้น

ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why) เป็นความรู้เชิงเหตุผลระหว่างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ผลของประสบการณ์แก้ปัญหาที่ซับซ้อน และนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เป็นผู้ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วเกิดความรู้ฝังลึก สามารถอดความรู้ฝังลึกของตนเองมาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้พร้อมทั้งรับเอาความรู้จากผู้อื่นไปปรับใช้ในบริบทของตนเองได้

ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why) เป็นความรู้ในลักษณะของความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ที่ขับดันมาจากภายในตนเองจะเป็นผู้ที่สามารถสกัด ประมวล วิเคราะห์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ กับความรู้ที่ตนเองได้รับมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ เช่น สร้างตัวแบบหรือทฤษฏีใหม่หรือนวัตกรรม ขึ้นมาใช้ในการทำงานได้

หนังสือ

                                    
                                 หนังสือเล่มนี้มี มีเนื้อหาที่ประกอบ ดังต่อไปนี้


                                     *ในความเป็นครู
                                                -ครูตามแนวพระราชดำริ
                                                -แดเพื่อนครูผู้ร่วมอุดมการณ์
                                                -ครู:สถาปนิกและวิศกรสังคม

                                     *ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ยุคใหม่
                                                -กลยุทธิ์ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                                                -บันทึกการเรียนรู้
                                                -การวิจัยในชั้นเรียน(อันนี้สำคัญค่ะ เพราะตรงกับที่เราเรียนอยู่ตอนนนี้)

                                      *วินัยสำหรับข้าราชการครู
                                                 -ข้อคิดเกี่ยวกับการรักษาวินัยสำหรับข้าราชการ
                                                 -ศาลปกครองกับวินัยข้าราชการครู

หนังสือ เรื่องเหตุเกิดที่บ้านและโรงเรียน

หนังสือเล่มนี้ เป็นเหมือนกับเรื่องสั้นๆ ที่มีตัวละครต่างๆเป็นตัวดำเนินเรื่อง แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียน ดังเช่น เรื่องของปิ่นที่ต้องสอบเข้าเรียน ป.1 จึงเกิดความเครียดอย่างมาก หากตนสอบไม่ได้เป็นต้น...


ดิฉันคิดว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่สอบอ่านหนังสือซักเท่าไหร่ ด้วยหนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องเป็นเหมือนบทละคร จึงทำให้เกิดความสนุกสนานมากขึ้นในการอ่านเพื่อให้เกิดประโยชน์

หนังสือเรื่องทำอย่างไรถึงจะได้เป็นครู

หนังสือเล่มนี้เหมาะเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับครูและผู้อยู่ในวงการวิชาชีพครู จะได้ยึดถืเป็นแบบอย่างในการประพฤติตนของครู นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ได้คัดเลือกและประกาศเกียรติคุณ ครูผู้ปฏิบัติงานมีผลงานดีเด่นตลอดจนการรวบรวมแนวความคิด เคล็ดลับและวิธีการทำงานในหน้าที่ครูจนประสบความสำเร็จ ซึ่งหนังสือเล่มนี้เหมาะสมอย่างยิ่ง แก่ผู้รักความก้าวหน้าทุกคน

แนะนำวิจัย

ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง

                               ด้านบทบาทครูวิจัยและสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนที่มีต่อนักศึกษาครู
                                             ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบเต็มรูป

                                                                ปริญญานิพนธ์

                                                                       ของ
                                                             บุญสิทธิ์ ไชยชนะ
                                                                 ผู้แนะนำวิจัย

                                                              กมลทิพย์ อุดมภ์



                                   การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติวิชาชีพ

                                เพื่อพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน


                                                               ปริญญานิพนธ์
                                                                     ของ
                                                               สันต์ ศูนย์กลาง

                                                                ผู้แนะนำวิจัย
                                                              วนิตรา อยู่ยงค์

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้

TPR = กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ



การจัดการความรู้ในโรงเรียน

                                   Makro
                                             ภาวะผู้นำ
                                             การบริหารการจัดการ
                                             การจัดองค์กร
                                             วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
                                             แผนงาน สารสนเทศ
                                            โครงการ
                                            ฯลฯ

                                   Micro
                                             แผนการสอน
                                             วิธีสอน / กิจกรรม
                                             กิจกรรมเสริมหลักสูตร
                                             เกม
                                            โครงงาน
                                            นิทรรศการ
                                            ฯลฯ

AIM= เป้าหมาย
ADAP= ประยุกต์ ปรับปรุงพัฒนา
Acheap ment


จุดประสงค์การเรียนรู้                     วิธีสอน / กิจกรรม
                เรียนรู้
                ริเริ่ม
                รับ
                เร่งรัด
                ร่วมมือ

วิธีสอน / กิจกรรม
                 Active Learning
                 Concept Mapping Learning
                 Brain Based Learning
                 Field Based Learning



จิตนาการสำคัญกว่าความรู้ – อัลเบิร์ต ไอสไตล์

early bird get warm – นกหากินแต่เช้าย่อมจับหนอนได้ก่อน

ไม่มีเงิน ไม่มีแผน – No money No plan



รูปแบบของการเรียนรู้

                  ระดับที่ 1 เรียนรู้ข้อเท็จจริง (Learning to be facts)
                  ระดับที่ 2 การเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะ (Learning to be skill)
                  ระดับที่ 3 การเรียนรู้เพื่อปรับปรุง (Learning to be adapt)
                  ระดับที่ 4 การเรียนรู้เพื่อเรียนรู้ (Learning to be learn)


มาตรฐานความรู้วิชาชีพครู

              ภาษาและเทคโนโลยี
              การพัฒนาหลักสูตร
              การจัดการเรียนรู้
              จิตวิทยาสำหรับครู
              การวัดและประเมินผล
              การบริหารจัดการในห้องเรียน
              วิจัยทางการศึกษา
              นวัตกรรมและเทคโนโลยี
              ความเป็นครู

กุญแจสู่ความสำเร็จของ KM

               ผู้นำ
               วัฒนธรรมองค์กร
               ระบบการจัดการ กลยุทธ์และการปฏิบัติการ
               ทรัพยากร
               ทีมงาน
               ประชามติ

ผู้นำ เช่น ในโรงเรียนผู้อำนวยการเป็นผู้กำหนดนโยบาย
ผู้นำ หมายถึง ผู้ริเริ่ม เริ่มต้นในการกำหนด ทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้ เช่น นักเรียน คุณครู
วัฒนธรรมองค์กร เปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็ง คือ ส่วนที่มองเห็นและมองไม่เห็น ส่วนที่มองเห็น = กิจกรรม,การจัดการ

ส่วนที่มองไม่เห็น = ความเชื่อ,ความศรัทธา

ระบบการจัดการ เช่น คอมพิวเตอร์ เอกสาร ทรัพยากรในระบบเพื่อการจัดการ

ประชามติ หมายถึง ความเห็นพ้อง การยอมรับร่วมกัน


ปัจจัยในการจัดการกลยุทธ์และปฏิบัติการ 4M

                   Money (เงิน)
                   Men (บุคลากร)
                   Manage (การจัดการ)
                   Material (วัสดุอุปกรณ์)
                   Motivation (แรงบันดาลใจ)
                   Method (แผนการ)
                   Multimedia
                   Message (การสื่อสาร)
                   Map (แผนที่)
                   Memory (การจดจำ)
                   Move (การเปลี่ยนแปลง,การเคลื่อนไหว)
                   Moral (คุณธรรม,จริยธรรม)
                   Minute (เวลา,การบริหารเวลา)

การสร้างอารมณ์ขันของครู
                  กิจกรรม เช่น
                                 - เพลง
                                 - การเล่าเรื่อง
                                 - เกม
                                 - สำนวน, สุภาษิต
                                 - ภาพยนตร์, ดนตรี
                                    ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้สามารถสอดแทรกเข้าไปในเนื้อหาของบทเรียนได้

คำอธิบายรายวิชา ED 433

คำอธิบายรายวิชา ED 433 Strategies for Knowledge Management

ศึกษานัยสำคัญของสังคมที่มีความรู้เป็นพื้นฐาน (Knowledge-Based Society) การเชื่อมโยงความรู้กับการปฏิบัติและการดำรงชีวิต การตัดสินใจ โดยอาศัยฐานความรู้และภูมิปัญญา การจัดระบบความรู้ การบริหารจัดการความรู้ และการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต รวมทั้งการกำหนดยุทธศาสตร์การจัดการความรู้

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หนังสือเรื่อง สารพัดความผิดของครู





ความผิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาว

ความผิดเกี่ยวกับเพศ อนาจาร ข่มขืน กระทำชำเรา ระหว่างข้าราชการครูกับหญิงอื่น

ความผิดเกี่ยวกับเพศ อนาจาร ข่มขืน กระทำชำเรา ระหว่างข้าราชการครูกับศิษย์ของตน

ความผิดเกี่ยวกับการพนัน

ความผิดเกี่ยวกับการเสพสุรา

ความผิดเกี่ยวกับการเงินการบัญชีและการพัสดุ

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หนังสือเรื่องความเป็นครูไทย



-ความหมายและความสำคัญของครู
-วิชาชีพครู  องค์กรวิชาชีพครู
-ลักษณะขอลครูที่ดี
-การปลูกฝังความศรัทธาในอาชีพครู
-การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับครู
-คุณธรรมและจรรยาบรรณของครู

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หนังสือ เรื่อง ฉันจะเป็นแสงสว่างให้กับเธอ


                                     หนังสือสำหรับคุณครูผู้ทำหน้าที่ให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน เนื่องจากสภาพของสังคมในยุคปัจจุบันนั้นทำให้ผู้ปกครองไม่มีเวลาเพียงพอที่จะอบรมสั่งสอนบุตรด้วยตนเอง คุณครูจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและจิตใจของเด็ก โดยที่คุณครูมิควรสอนแต่เฉพาะความรู้ทางวิชาการเท่านั้น แต่ควรถ่ายทอดคุณธรรมให้แก่ศิษย์เป็นการเพิ่มเติมอีกด้วย ซึ่งคุณครูจะสามารถทำเช่นนี้ได้ก็ต่อเมื่อคุณครูได้ศึกษาและปฏิบัติธรรม ดำเนินตามแบบอย่างของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นบรมครูของมวลมนุษยชาติ


                                     หนังสือ “ฉันจะเป็นแสงสว่างให้กับเธอ” จะชี้ให้เห็นถึงขุมทรัพย์อันน่าอัศจรรย์ว่าทำอย่างไรคุณครูจึงจะประสบความสำเร็จในวิชาชีพ เป็นบุคคลต้นแบบที่รักและเคารพของเด็กนักเรียน ซึ่งมีความสุขและปลื้มปีติใจเป็นเครื่องตอบแทนอย่างไม่รู้จบ



บทที่ 1 - ครูคือคนสำคัญ


• ดุจดวงตะวันผู้ขจัดความมืด

• โลกนี้ต้องมีครู

• คุณค่าของครูอยู่เหนือเงินตรา

• แสงสว่างจากครูคือปัญญา



บทที่ 2 - ตำแหน่งหน้าที่อันดีงาม

• บุคคลสำคัญอันดับสอง

• แนะและนำ

• ปลูกฝังความรักสะอาด

• สอนวิชาชีพและวิชชาชีวิต

• ตำแหน่งแห่งการสร้างบารมี



บทที่ 3 - การเป็นครูต้นแบบ

• ตัวอย่างที่ดีสำหรับนักเรียน

• ครอบครัวครู ครอบครัวตัวอย่าง

• ในฐานะปูชนียบุคคล

• ครูที่ศิษย์ไม่ลืม

• นักเรียนคนแรก

• เฆี่ยนด้วยความดีและคำสอน

• สื่อสีขาวเคลื่อนที่



บทที่ 4 - พลิกโลกด้วยมือครู

• ศักยภาพอันยิ่งใหญ่

• หัวใจของโลกและจักรวาล



บทที่ 5 - ปณิธานและจิตวิญญาณครู

• ทำไมถึงอยากเป็นครู

• ปลุกวิญญาณ



บทที่ 6 - รางวัลแห่งภารกิจ

• ความปีติและภาคภูมิใจในปัจจุบัน

• มีความสุขเป็นแก่นสาร

• ปลื้มใจแม้วัยเกษียณ



บทที่ 7 - พระบรมครูแห่งโลกและจักรวาล

• จุดเริ่มต้นของพระบรมครู

• ความเสียสละอันยิ่งใหญ่

• การบังเกิดขึ้นของพระบรมครู

• พระบรมครูผู้สอนมนุษย์และเทวา

• วันครูที่แท้จริง

บทที่ 8 - พระบรมครูคือต้นแบบของครูทุกคน

• อาชีพสายพระบรมโพธิสัตว์

• วิชชาของพระบรมครู

• ครูผู้ส่องสว่างจากภายใน